ประสิทธิ์
เอื้อตระกูลวิทย์ : เรียบเรียง
อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี
คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ผู้ค้นคว้า - ประจิต
ประเสริฐประศาสน์ : นักวิชาการอิสระ
เมื่อปีพ.ศ.1214 พระภิกษุชาวจีนชื่ออี้จิง
ได้เดินทางไปสืบทอดพระพุทธศาสนาที่ประเทศ
อินเดีย ท่านเดินทางโดยอาศัยเรือจากเมืองท่าที่กวางตุ้งมาพำนักที่เมืองโฟชิก่อนเป็นเวลา 6 เดือน
แล้วจึงได้อาศัยเรือเดินทางต่อไปยังประเทศอินเดีย เป้าหมายคือมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เมืองนาลันทา
ซึ่งเผยแพร่คำสอนตามหลักพุทธศาสนามหายานที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านกลับ
เมืองจีน และได้กลับมาพำนักที่เมืองโฟชิอีกในช่วงระหว่างปีพ.ศ.1230-1238 ระหว่างนี้เองภิกษุ
อี้จิงได้ทำการวัดและบันทึกเงาของนาฬิกาแดดทั้งที่เมืองโฟชิ และเมืองโฮลิง ทั้ง 2 เมืองนี้ เป็นเมือง
ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และมีความมั่งคั่งจากการควบคุมการ
ค้าขายทางทะเล ตามบันทึกของภิกษุอี้จิงนั้น เมืองโฟชิ (กรุงศรีวิชัย) รวมอยู่ในประเทศทั้ง 10 แห่ง
ในทะเลใต้
อินเดีย ท่านเดินทางโดยอาศัยเรือจากเมืองท่าที่กวางตุ้งมาพำนักที่เมืองโฟชิก่อนเป็นเวลา 6 เดือน
แล้วจึงได้อาศัยเรือเดินทางต่อไปยังประเทศอินเดีย เป้าหมายคือมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่เมืองนาลันทา
ซึ่งเผยแพร่คำสอนตามหลักพุทธศาสนามหายานที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น หลังจากนั้นท่านกลับ
เมืองจีน และได้กลับมาพำนักที่เมืองโฟชิอีกในช่วงระหว่างปีพ.ศ.1230-1238 ระหว่างนี้เองภิกษุ
อี้จิงได้ทำการวัดและบันทึกเงาของนาฬิกาแดดทั้งที่เมืองโฟชิ และเมืองโฮลิง ทั้ง 2 เมืองนี้ เป็นเมือง
ที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และมีความมั่งคั่งจากการควบคุมการ
ค้าขายทางทะเล ตามบันทึกของภิกษุอี้จิงนั้น เมืองโฟชิ (กรุงศรีวิชัย) รวมอยู่ในประเทศทั้ง 10 แห่ง
ในทะเลใต้
เมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ใด?
คำถามนี้ไม่อาจอธิบายในกรอบของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพียงอย่างเดียวได้ ดังนั้น
จึงต้องอาศัยการคำนวณซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลมาแสดงไว้ อันจะเป็นการพิสูจน์ถึงตำแหน่งที่ตั้ง
ที่แท้จริงของเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ตามที่ภิกษุอี้จิงได้เคยมาพำนัก และได้บันทึกค่าของ
นาฬิกาแดดไว้ที่เมืองโฟชิซึ่งเป็นเมืองในประเทศทั้ง 10 แห่งในทะเลใต้นั่นเอง
จึงต้องอาศัยการคำนวณซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอข้อมูลมาแสดงไว้ อันจะเป็นการพิสูจน์ถึงตำแหน่งที่ตั้ง
ที่แท้จริงของเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย ตามที่ภิกษุอี้จิงได้เคยมาพำนัก และได้บันทึกค่าของ
นาฬิกาแดดไว้ที่เมืองโฟชิซึ่งเป็นเมืองในประเทศทั้ง 10 แห่งในทะเลใต้นั่นเอง
คำแปลพระสูตรของหลวงจีนอี้จิงเป็นภาษาจีน มีการคัดลอกนำไปไว้ที่เมืองนารา
ประเทศญี่ปุ่น
ความเป็นมา ที่ตั้ง
และเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก เสมือนว่าไม่มีความ
จำเป็นใดๆ ต้องรู้ไปมากยิ่งขึ้นกว่านี้อีกแล้ว โดยเป็นการยอมรับอย่างขัดเขินกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ไทยว่า
เมืองที่สำคัญของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ “ไชยา” ส่วนต่างชาติกลับไปยกย่องให้ “ปาเล็มบัง” เป็นเมืองหลวงของ
อาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่า แล้วเราจะยอมรับกันได้หรือไม่
จำเป็นใดๆ ต้องรู้ไปมากยิ่งขึ้นกว่านี้อีกแล้ว โดยเป็นการยอมรับอย่างขัดเขินกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ไทยว่า
เมืองที่สำคัญของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ “ไชยา” ส่วนต่างชาติกลับไปยกย่องให้ “ปาเล็มบัง” เป็นเมืองหลวงของ
อาณาจักรศรีวิชัยเสียมากกว่า แล้วเราจะยอมรับกันได้หรือไม่
ดังนั้น
เอกสารของหลวงจีนอี้จิงอาจจะคลายปมปริศนาเกี่ยวกับชื่อเมืองและสถานที่ตั้งของเมืองในระยะ
ก่อตัวของอาณาจักรศรีวิชัยได้ และอาจส่งผลให้เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรศรีวิชัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ก่อตัวของอาณาจักรศรีวิชัยได้ และอาจส่งผลให้เรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับอาณาจักรศรีวิชัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
เพื่อเป็นการปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเรียกว่าการอัพเดทเรื่องราวของศรีวิชัยนั้น ผู้เขียนเห็นว่าเรื่องราว
ของดินแดนภาคใต้ของประเทศไทยไปจนถึงชวานั้นยังน่าสนใจและควรค่าแก่การสานต่อจากนักประวัติศาสตร์
รุ่นเดิม ควรปรับ เพิ่ม หรือโต้แย้งข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น ตรวจสอบเอกสารกันอีกรอบ เอามาดูอีกสักครั้งว่าพบ
ประเด็นที่น่าสนใจในเอกสารโบราณประการอื่นอีกหรือไม่ ทั้งนี้ควรอ้างอิงหลักการอันเป็นที่ยอมรับได้ ผู้เขียน
เห็นว่าในเอกสารโบราณชาวต่างชาติมักพูดถึงเรื่องราวสำคัญทั่วไปเสียมากกว่า มีเพียงเอกสารของหลวงจีนอี้จิง
เท่านั้นที่พูดถึง “เวลา” “ระยะทาง”และ “จำนวนวัน” สัมพันธ์กับสถานที่ที่ท่านพำนัก และสภาพภูมิอากาศใน
ขณะนั้น
รุ่นเดิม ควรปรับ เพิ่ม หรือโต้แย้งข้อมูลให้ทันสมัยขึ้น ตรวจสอบเอกสารกันอีกรอบ เอามาดูอีกสักครั้งว่าพบ
ประเด็นที่น่าสนใจในเอกสารโบราณประการอื่นอีกหรือไม่ ทั้งนี้ควรอ้างอิงหลักการอันเป็นที่ยอมรับได้ ผู้เขียน
เห็นว่าในเอกสารโบราณชาวต่างชาติมักพูดถึงเรื่องราวสำคัญทั่วไปเสียมากกว่า มีเพียงเอกสารของหลวงจีนอี้จิง
เท่านั้นที่พูดถึง “เวลา” “ระยะทาง”และ “จำนวนวัน” สัมพันธ์กับสถานที่ที่ท่านพำนัก และสภาพภูมิอากาศใน
ขณะนั้น
เพื่อนำผู้อ่านไปสู่เรื่องที่เกี่ยวกับความสับสนเรื่องชื่อต่างๆ
ของอาณาจักรศรีวิชัย ผู้เขียนขอเกริ่นนำ
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทยโดยย่อ โดยเฉพาะเรื่องกำเนิดและที่ตั้ง
ของ อาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงสี่สิบถึงห้าสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากผู้รู้และนักปราชญ์หลายท่านทำให้
เรารู้ว่า ท่านเหล่านี้พยายามระบุตำแหน่ง “เมืองหลวง”ของอาณาจักรศรีวิชัยด้วยหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ
เท่าที่มีการค้นพบ อาทิเช่นโบราณสถาน ประติมากรรมทางศาสนาพุทธและฮินดู โดยเรียกกันว่า “ศิลปะแบบ
ศรีวิชัย” อันมีความคล้ายกับงานศิลปะของราชวงศ์ไศเลนทร์ สันนิษฐานว่าเป็นศาสนาพุทธสกุลวัชรยานแบบ
อินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชวงศ์ปาละ นอกจากนี้มีหลักฐานจารึกและเอกสารโบราณจำนวนมากที่
นักวิชาการทั้งไทยและเทศนำมาอ้างอิง กำเนิดความเป็นมา และความรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัยตั้งแต่พุทธ
ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา กล่าวตรงกันว่าอาณาจักรศรีวิชัยเจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 ด้วยเหตุผลของการ
เป็นที่ตั้งเมืองท่าค้าขายระหว่างจีน เวียดนาม เขมรฝั่งหนึ่ง กับอินเดีย อาหรับ เปอร์เซียและยุโรป อีกฝั่งหนึ่ง
เรื่องราวทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดีในภาคใต้ของประเทศไทยโดยย่อ โดยเฉพาะเรื่องกำเนิดและที่ตั้ง
ของ อาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงสี่สิบถึงห้าสิบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากผู้รู้และนักปราชญ์หลายท่านทำให้
เรารู้ว่า ท่านเหล่านี้พยายามระบุตำแหน่ง “เมืองหลวง”ของอาณาจักรศรีวิชัยด้วยหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ
เท่าที่มีการค้นพบ อาทิเช่นโบราณสถาน ประติมากรรมทางศาสนาพุทธและฮินดู โดยเรียกกันว่า “ศิลปะแบบ
ศรีวิชัย” อันมีความคล้ายกับงานศิลปะของราชวงศ์ไศเลนทร์ สันนิษฐานว่าเป็นศาสนาพุทธสกุลวัชรยานแบบ
อินเดียภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราชวงศ์ปาละ นอกจากนี้มีหลักฐานจารึกและเอกสารโบราณจำนวนมากที่
นักวิชาการทั้งไทยและเทศนำมาอ้างอิง กำเนิดความเป็นมา และความรุ่งเรืองของอาณาจักรศรีวิชัยตั้งแต่พุทธ
ศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา กล่าวตรงกันว่าอาณาจักรศรีวิชัยเจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 ด้วยเหตุผลของการ
เป็นที่ตั้งเมืองท่าค้าขายระหว่างจีน เวียดนาม เขมรฝั่งหนึ่ง กับอินเดีย อาหรับ เปอร์เซียและยุโรป อีกฝั่งหนึ่ง
เมื่อพูดถึงคำว่า
“ศรีวิชัย” นั้น
นักวิชาการในปัจจุบันยอมรับว่าเกิดมาจาก
ยอร์ช เซเดส์ (พ.ศ. 2461)
ท่านได้ระบุเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่ ปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตราใต้ และนักวิชาการชาวต่างชาติ
ท่านอื่น ๆ ต่างยอมรับ ถึงแม้ว่า
ได้พยายามขุดค้นทางโบราณคดีที่ปาเล็มบัง
ก็ไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับ
“ศรีวิชัย”
อย่างชัดเจน รวมทั้งจารึกเคดุกันบุกิต พ.ศ.1225
ก็ระบุเพียงชื่อสถานที่ 5 แห่ง และมีชื่อพระราชา
(เรียกดาปุนตาไฮยำ) ทรงพระนามศรีชัยนาศ
ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับอาณาจักรศรีวิชัยมากนัก เครื่องลายครามที่ขุด
ขึ้นมาได้เป็นลายครามของพุทธศตวรรษที่
14 – 15
ถ้าปาเล็มบังไม่เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งระบุว่า “ไชยา“
เป็น
ศูนย์กลางของศรีวิชัย ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 14
อย่างแน่นอน … หรืออาจยาวนานกว่านั้นด้วย
(หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี,
2542; สิปปนันท์ นวลละออง 2557; ธรรมทาส
พานิช, 2534; นงคราญ
ศรีชาย, 2544)
‘ศรีวิชัย’ เป็นเพียงชื่อหนึ่งของการเรียกชื่อที่แตกต่างกันในจารึกและเอกสารโบราณ ชื่ออื่นๆ
มี
นครโพธิ สัมโพธิ ศรีโพธิ ชวกะ ซาบาก โฟ-ชิ ชิลิโฟชิ และสันโฟชิ
นครโพธิ สัมโพธิ ศรีโพธิ ชวกะ ซาบาก โฟ-ชิ ชิลิโฟชิ และสันโฟชิ
เมื่อตามรอยหลวงจีนอี้จิงจะพบว่า หลวงจีนอี้จิงแวะพำนักอยู่ที่นครโฟ-ชิ เป็นเวลา 6 เดือน บันทึกในเอกสารว่า
ขาไป หลวงจีนอี้จิงพักอยู่ที่เมือง “ โฟ-ชิ ”
6 เดือน เพื่อเรียนภาษาสันสกฤต ต่อจากนั้นท่านเดินทาง
อีก 15 วัน ถึง โม-โล-ยู (มลายู ) พักที่มลายู 2 เดือน เพื่อให้ลมเปลี่ยนทิศ แล้วแล่นใบผ่านช่องแคบมะละกา
15 วันถึง เชียชะ หรือ เคียขะ (เคดาห์ ไทรบุรี ) ต่อจากนั้นก็ข้ามสมุทรไปถึงอินเดีย หลวงจีนอี้จิงพักอยู่ที่อินเดีย
หลายปี (พ.ศ.1215 – 1228 รวม 13 ปี) พักที่เมืองนาลันทา
อีก 15 วัน ถึง โม-โล-ยู (มลายู ) พักที่มลายู 2 เดือน เพื่อให้ลมเปลี่ยนทิศ แล้วแล่นใบผ่านช่องแคบมะละกา
15 วันถึง เชียชะ หรือ เคียขะ (เคดาห์ ไทรบุรี ) ต่อจากนั้นก็ข้ามสมุทรไปถึงอินเดีย หลวงจีนอี้จิงพักอยู่ที่อินเดีย
หลายปี (พ.ศ.1215 – 1228 รวม 13 ปี) พักที่เมืองนาลันทา
นอกจากนั้นบันทึกเส้นทางเดินเรือของ "เจียตัน" เสนาบดีชาวจีนระบุว่า
ถ้าแล่นใบจากเมืองโฟชิไปทางตะวันออกเป็นเวลา 4 - 5 วัน
จะถึงเมือง
“โฮลิง” โฮลิงหรือ โพลิง มาจากคำว่า โพธิ์ + กะลิง เพราะชาวกลิงคะมาจาก กลิงครัฐ (ใกล้แม่น้ำคงคา)
มาอยู่ที่โฮลิงกับโฟชิ มาชุมดาร์นักโบราณคดีบันทึกว่าชาวอินเดียเดินทางหรือหนีเข้ามาที่เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ด้วย เพราะมีพวกกษัตริย์จาลุกย์เข้ามารุกรานนับร้อยปี ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1100 ( บทความ
ของ น. ณ ปากน้ำ ) เมืองกาลิงคะอยู่ภายใต้ราชวงศ์คงคาและไศโรจน์ภาวะ ปกครองโดยราชวงศ์ไศละ
อันนามของกษัตริย์ราชวงศ์คงคาล้วนแต่ต่อท้ายด้วยคำว่ามหาราชทั้งสิ้น จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ราชวงศ์เหล่านี้
เป็นต้นราชวงศ์ไศเลนทร์ และชาวกลิงคะจึงมีความสัมพันธ์กับไศเลนทร์ (ต้นกำเนิดคำว่าโฮลิง)
“โฮลิง” โฮลิงหรือ โพลิง มาจากคำว่า โพธิ์ + กะลิง เพราะชาวกลิงคะมาจาก กลิงครัฐ (ใกล้แม่น้ำคงคา)
มาอยู่ที่โฮลิงกับโฟชิ มาชุมดาร์นักโบราณคดีบันทึกว่าชาวอินเดียเดินทางหรือหนีเข้ามาที่เอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ด้วย เพราะมีพวกกษัตริย์จาลุกย์เข้ามารุกรานนับร้อยปี ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1100 ( บทความ
ของ น. ณ ปากน้ำ ) เมืองกาลิงคะอยู่ภายใต้ราชวงศ์คงคาและไศโรจน์ภาวะ ปกครองโดยราชวงศ์ไศละ
อันนามของกษัตริย์ราชวงศ์คงคาล้วนแต่ต่อท้ายด้วยคำว่ามหาราชทั้งสิ้น จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ราชวงศ์เหล่านี้
เป็นต้นราชวงศ์ไศเลนทร์ และชาวกลิงคะจึงมีความสัมพันธ์กับไศเลนทร์ (ต้นกำเนิดคำว่าโฮลิง)
ขากลับ กลับมาที่ “ โฟ-ชิ ”
อีกครั้ง
และในขณะนั้นประเทศโมโลยูได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโฟชิไปแล้ว
ท่านได้พำนักต่อที่โฟชิอีก 8
ปี ระหว่าง พ.ศ.
1230 - 1238 เพื่อแปลพระสูตรในพระพุทธศาสนาจากภาษา
สันสกฤตเป็นภาษาจีนและระบุไว้ว่า
ที่เมือง “ โฟ-ชิ ” มีพระสงฆ์ในพุทธศาสนากว่า
๑,๐๐๐ รูป มีพระธรรมวินัย
และพิธีกรรมทุกอย่างคล้ายกับที่ปฏิบัติกันที่อินเดีย
แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองสำคัญทางพุทธศาสนาในแถบนี้
( 1.ตั้งอยู่บนแม่น้ำโพธิ 2.
ฮวยหนิงไปหาพระภิกษุญาณภัทรที่เมืองโพลิง
– พ่อค้าจีนพูดผิดเป็นโฮลิง )
หลวงจีนอี้จิงระบุว่า เมืองโฮลิง
ตันตัน กาจาหรือเกียฉา ( เคดาห์ )
และพันพัน เป็นเมืองในทะเลใต้ ซึ่งมีมากกว่าสิบเมือง รวมทั้งเมือง “ โฟ-ชิ ” ด้วย จากการค้นคว้าในบันทึกของเจาจูกัวในพุทธศตวรรษที่ 18 เมืองศรีวิชัยสมัยนั้นจีนเรียกว่า "สันโฟชิ" เป็นเมืองหลวงของ “อาณาจักรศรีวิชัย” แต่ยังคงเป็นปริศนาให้นักประวัติศาสตร์
และนักโบราณคดีค้นคว้ามาจนถึงทุกวันนี้ว่า เมือง “ โฟ-ชิ ”
คือ ไชยา ใช่หรือไม่
ไปยังเกาะนิโคบาร์สู่ประเทศอินเดีย
เพื่อเป็นการแก้ปมปริศนาที่ตั้งของเมือง “ โฟ-ชิ ” ผู้เขียนเห็นว่าการเดินทางของหลวงจีนอี้จิงได้ทิ้งข้อมูล
ที่บอกถึงชื่อสถานที่
เวลาและระยะทางของแต่ละสถานที่ไว้
หลวงจีนอี้จิงและคนในสมัยนั้นสื่อสารเพื่อระบุเวลา
กันด้วยเงาแดด ( หรือเทียบเคียงได้กับนาฬิกาแดด
) เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโลกกลม
ดังนั้นในวันเวลาเดียวกันแต่
ต่างพื้นที่
ต่างเดือนกันออกไป “เงาแดด”
ย่อมต่างกัน ผู้เขียนเกิดความใคร่รู้ว่าเมื่อนำ ” ความยาวของเงาแดด”
ตามที่หลวงจีนอี้จิงได้ระบุตามเมืองต่างๆที่ท่านได้ไปถึง ทำให้เราระบุ
“เมืองหลวง” ของอาณาจักรศรีวิชัยเมื่อราว
พุทธศตวรรษที่ 11 – 12
จนสามารถไขปริศนาชื่อเมืองอื่นๆที่ระบุไว้ จนกระทั่งอาจจะนำไปสู่การพลิกเปลี่ยนข้อมูล
ทางประวัติศาสตร์ของดินแดนต่างๆในภาคใต้ของประเทศได้
ข้อมูลตำแหน่งตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ พบว่า
เมืองไชยา ตั้งอยู่ที่
9 องศา 08 ลิปดา เหนือ
(ตรงศีรษะ 2 ครั้งคือ 15
เมษายน และ 30 สิงหาคม)
ปาเล็มบังเมืองท่าเก่า ตั้งอยู่ที่ 3 องศา 0
ลิปดา
ใต้
(จิวเกียง,
Chiu – chiang) (ตรงศีรษะ 2
ครั้งคือ
14 มีนาคม และ 1 ตุลาคม)
ข้อมูลที่เกี่ยวกับที่ตั้งของเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยโดยนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์
ตำแหน่งที่ตั้งของเมืองศรีวิชัยจากพงศาวดารใหม่ราชวงศ์ถัง โดยข้อมูลการคำนวณของศาสตราจารย์
พี เจ บี( P.J. Bee,1974 ) ระบุว่า ศรีวิชัยตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่ 6 องศา 7 ลิปดาเหนือ ในขณะนั้นเรียกว่า ชิลิโฟชิ
พี เจ บี( P.J. Bee,1974 ) ระบุว่า ศรีวิชัยตั้งอยู่ที่เส้นรุ้งที่ 6 องศา 7 ลิปดาเหนือ ในขณะนั้นเรียกว่า ชิลิโฟชิ
เมื่อกลับไปอ่านจดหมายเหตุการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง พบข้อความ การระบุเงาแดดหรือการบอก
เวลาตามเงานาฬิกาแดด ได้ดังนี้
เวลาตามเงานาฬิกาแดด ได้ดังนี้
“…ในเมืองศรีวิชัยเงาแดดไม่เปลี่ยนแปลงในกลางเดือนที่
8 และกลางฤดูใบไม้ผลิ และในสองวันนี้จะ
ไม่มีเงาแดดในตอนเที่ยงวัน…”
ไม่มีเงาแดดในตอนเที่ยงวัน…”
“…ที่โมโลยู (Mo-lo-yu)
ตอนเที่ยงวันไม่มีเงาคน ” แสดงว่า
โมโลยูน่าจะอยู่ที่เส้นศูนย์สูตร
“…ที่โฮลิง (Ho-ling) ตอนเที่ยงวันของฤดูร้อน เข็มสูง
8 ชิ (
Sh’ih) มีเงาชี้ไปทางใต้ยาว 2 ชิ
5 ชุน(fs’un)”
5 ชุน(fs’un)”
แสดงว่าโฮลิงอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร
(หมายเหตุ ชิ คือฟุต
ชุน คือนิ้ว ในมาตราวัดของอังกฤษ )
“…ที่โฟเช (Fo-che) ตอนเที่ยงวันของฤดูร้อน เข็มสูง
8 ชิ มีเงาชี้ไปทางใต้ยาว 2 ชิ 4 ชุน”
แสดงว่า โฮลิงและโฟเช อยู่ไม่ห่างกันมาก และโฟเชอยู่เหนือโฮลิงเล็กน้อย
เมื่อได้คำนวณตามความเอียงแกนหมุนของโลก โดยใช้ข้อมูลวันที่ 21 มิถุนายน และค่าคำนวณ
ตามความเอียงแกนหมุนของโลกในปัจจุบัน
กับขณะที่อี้จิงพำนักอยู่ที่โฟเช
เมื่อปี พ.ศ. 1230
โดยมีการวัดค่า
ความคลาดเคลื่อนจากหลักการที่ว่าโลกมีการหมุนเอียงจากระนาบทางโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมกับแนวดิ่ง
คือวันที่ 21 มิถุนายน ดวงอาทิตย์จะส่องตรงเส้น Tropic
of Cancer หรือเส้นรุ้ง 23 องศา 26 ลิปดา 22
ฟิลิปดา เหนือ
แต่ความเอียงแกนหมุนของโลกปัจจุบัน
ลดลง 0.475
ฟิลิปดาต่อปี
เมื่อคำนวณแล้วพบว่า
ในปี พ.ศ. 1230 เส้น Tropic of
Cancer
คือเส้นรุ้ง 23 องศา 32 ลิปดา 25 ฟิลิปดา
เหนือ
ผลจากการคำนวณ (เพิ่ม) พบว่า
เมืองโฟเช หรือ
โฟชิ อยู่ที่ 7 องศา 17 ลิปดา
เหนือ
เมืองโฮลิง อยู่ที่ 6 องศา 44 ลิปดา เหนือ
( อำเภอไชยา อยู่ที่เส้นละติจูด 9 องศา 8 ลิปดา เหนือ
จึงไม่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการ
คำนวณ ดังนั้น ไชยาไม่ใช่เมือง โฟชิ
ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชหรือตามพรลิงค์
อยู่ที่เส้นละติจูด 8 องศา
25
ลิปดา เหนือ
จึงไม่สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการคำนวณ
ดังนั้น
นครศรีธรรมราชไม่ใช่เมืองโฮลิง )
ผลจากการคำนวณเงาแดดจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิง
7 องศา 17 ลิปดาเหนือ คือตำแหน่งของ “สิงหนคร” จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน
และ
6 องศา 44 ลิปดาเหนือ
คือตำแหน่งของ “เมืองยะรัง”
จังหวัดปัตตานี
เป็นไปได้หรือไม่ว่า หลวงจีนอี้จิง ได้มาพำนักอยู่ที่เมือง “สิงหนคร” เพื่อเรียนภาษาสันสกฤต
6 เดือน และเดินทาง
อีก 15 วัน ถึง
โมโลยู อันเป็นระยะทางประมาณ 1,100
กิโลเมตร ถ้าเป็นไปได้
แสดงว่า
…จากกวางตุ้งมาโฟชิ 20 วัน (จึงเป็นไปได้) จากโฟชิ ไป โมโลยู
15 วัน (ก็เป็นไปได้)
เดินเรือหนึ่งวันได้ระยะทางราว 100 กิโลเมตรทะเล และจากโมโลยู
ไป ปาเล็มบัง 5
วัน
ในการอ้างถึงเมืองโฟชิว่าคือ
“ ปาเล็มบัง” เป็นไปได้ยาก ด้วยสภาพการเดินทางด้วยเรือในสมัยนั้น
การล่องเรือจากกวางตุ้งให้ถึงปาเล็มบังภายใน 20 วัน ทำไม่ได้ เพราะน่าจะใช้เวลามากกว่านี้หนึ่งเท่าตัว
เมืองโฟชิที่หลวงจีนอี้จิงไปพำนักจึงมิใช่ตำแหน่งของเมืองปาเล็มบัง
(เมืองท่าเก่า)
ข้อมูลจากศิลาจารึกที่พบในเกาะสุมาตราทั้ง
6 หลัก ระบุปีพ.ศ.1225-1229 นั้น ทำให้เราทราบว่า
กษัตริย์ศรีชัยนาศะ ทรงยกกองทัพจากเมืองโฟชิไปตีโมโลยูกับปาเล็มบังจนได้เป็นเมืองขึ้น ดังนั้นในปีพ.ศ.1229
หลวงจีนอี้จิงเดินทางกลับจากอินเดียมาที่โมโลยูในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม (วัดเงาแดดแล้วไม่มีเงา
เท่ากับ 0) กล่าวว่าในขณะนั้นโมโลยูกลายเป็นส่วนหนึ่งของโฟชิ ถ้าเมืองโฟชิคือตำแหน่งเดียวกับสิงหนครปัจจุบัน
การกล่าวถึง ”ดินแดง”(อาณาจักรเชียะโท้) ที่โรกุโร กุวาตะชาวญี่ปุ่น ได้ศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานหลายๆด้าน
และเปรียบเทียบให้ดูว่าเป็นเมืองเดียวกันกับเมือง “ชิลิโฟชิ” ซึ่งราชสำนักจีนบันทึกไว้ว่าเป็นเมืองหลวงของ
อาณาจักรแถบนี้ ในสมัยนั้นกษัตริย์โหมิโต (หริมิตร-อ้างถึงโดยโรกุโร กุวาตะ ชื่อที่ถูกต้องควรเป็น "มหินทร") ได้ส่งทูตไปประเทศจีนครั้งแรกในปี
พ.ศ.1213 จีนบันทึกชื่อว่าชิลิโฟชิ แทนชื่อเมืองเชียะโท้ (ได้ส่งทูตไปประเทศจีนในระหว่างปีพ.ศ. 1213-1285
จำนวน 7 ครั้ง) และจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงยังระบุว่า “พระราชามีเรือแล่นอยู่ระหว่างเคดาห์ เมืองท่าทางฝั่ง
ตะวันตกของโฟชิ เพื่อไปยังเมืองท่าของประเทศอินเดีย เมืองเชียะโท้มีอาณาเขตทิศเหนือติดทะเล ทิศใต้ติด
โฮโลตัน (อี้จิงบอกว่า ”ตันตัน“)
กษัตริย์ศรีชัยนาศะ ทรงยกกองทัพจากเมืองโฟชิไปตีโมโลยูกับปาเล็มบังจนได้เป็นเมืองขึ้น ดังนั้นในปีพ.ศ.1229
หลวงจีนอี้จิงเดินทางกลับจากอินเดียมาที่โมโลยูในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม (วัดเงาแดดแล้วไม่มีเงา
เท่ากับ 0) กล่าวว่าในขณะนั้นโมโลยูกลายเป็นส่วนหนึ่งของโฟชิ ถ้าเมืองโฟชิคือตำแหน่งเดียวกับสิงหนครปัจจุบัน
การกล่าวถึง ”ดินแดง”(อาณาจักรเชียะโท้) ที่โรกุโร กุวาตะชาวญี่ปุ่น ได้ศึกษาค้นคว้าจากหลักฐานหลายๆด้าน
และเปรียบเทียบให้ดูว่าเป็นเมืองเดียวกันกับเมือง “ชิลิโฟชิ” ซึ่งราชสำนักจีนบันทึกไว้ว่าเป็นเมืองหลวงของ
อาณาจักรแถบนี้ ในสมัยนั้นกษัตริย์โหมิโต (หริมิตร-อ้างถึงโดยโรกุโร กุวาตะ ชื่อที่ถูกต้องควรเป็น "มหินทร") ได้ส่งทูตไปประเทศจีนครั้งแรกในปี
พ.ศ.1213 จีนบันทึกชื่อว่าชิลิโฟชิ แทนชื่อเมืองเชียะโท้ (ได้ส่งทูตไปประเทศจีนในระหว่างปีพ.ศ. 1213-1285
จำนวน 7 ครั้ง) และจากบันทึกของหลวงจีนอี้จิงยังระบุว่า “พระราชามีเรือแล่นอยู่ระหว่างเคดาห์ เมืองท่าทางฝั่ง
ตะวันตกของโฟชิ เพื่อไปยังเมืองท่าของประเทศอินเดีย เมืองเชียะโท้มีอาณาเขตทิศเหนือติดทะเล ทิศใต้ติด
โฮโลตัน (อี้จิงบอกว่า ”ตันตัน“)
ซึ่งภายหลังจากที่หลวงจีนอี้จิงเดินทางกลับจากอินเดียในปีพ.ศ.
1228 และกลับเมืองจีนแล้ว ท่านได้
กลับมาพำนักที่โฟชิอีกในระหว่างปีพ.ศ.1230-1238 เพื่อคัดลอกและแปลคัมภีร์ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน
ท่านได้บันทึกอีกว่าเมืองโฮลิง พันพาน เกียฉา (เคดาห์หรือ ไทรบุรี) และตันตัน รวมทั้งนครโฟชิ หรือ ชิลิโฟชิ เป็นเมืองทั้งสิบแห่งในทะเลใต้
กลับมาพำนักที่โฟชิอีกในระหว่างปีพ.ศ.1230-1238 เพื่อคัดลอกและแปลคัมภีร์ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน
ท่านได้บันทึกอีกว่าเมืองโฮลิง พันพาน เกียฉา (เคดาห์หรือ ไทรบุรี) และตันตัน รวมทั้งนครโฟชิ หรือ ชิลิโฟชิ เป็นเมืองทั้งสิบแห่งในทะเลใต้
จากหลักฐานที่มีอยู่นี้ เมืองตันตันควรมีอาณาเขตอยู่ใต้เชียะโท้ และในปี พ.ศ.1150-1151
ระหว่างที่
ราชทูต“ชางจุน” อัญเชิญเรือพระราชสาส์นของจักรพรรดิจีนเข้ามานั้น เมืองตันตันจึงมีอาณาเขตต่อแดนกับเมือง
เชียะโท้ ตามประวัติจากบันทึกของจีนนั้น เราทราบว่าตันตันส่งสิ่งของบรรณาการไปเจริญไมตรีกับประเทศจีนในปี
พ.ศ.1073 และในจำนวนนั้นมีไข่มุกอย่างดีรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเมืองตันตันจึงควรจะเป็นเมืองกลันตัน (มีอาณาเขต
ติดทะเล)
ราชทูต“ชางจุน” อัญเชิญเรือพระราชสาส์นของจักรพรรดิจีนเข้ามานั้น เมืองตันตันจึงมีอาณาเขตต่อแดนกับเมือง
เชียะโท้ ตามประวัติจากบันทึกของจีนนั้น เราทราบว่าตันตันส่งสิ่งของบรรณาการไปเจริญไมตรีกับประเทศจีนในปี
พ.ศ.1073 และในจำนวนนั้นมีไข่มุกอย่างดีรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเมืองตันตันจึงควรจะเป็นเมืองกลันตัน (มีอาณาเขต
ติดทะเล)
ต่อมาในปลายสมัยราชวงศ์ถัง
(พ.ศ.1447)
ราชสำนักจีนได้บันทึกชื่อของเมืองชิลิโฟชิ โดยเรียกชื่อใหม่ว่า
เมืองสันโฟชิ เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ที่บริเวณ “สิงหนคร” ในปัจจุบัน ในสมัยที่หลวงจีนอี้จิงพำนักอยู่ที่เมืองนี้
ได้บันทึกไว้ว่า ชาวบ้านเรียกเมือง “โพธิ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโพธิ และเป็นไปได้ว่า แม่น้ำโพธิ คือร่องน้ำระหว่าง
แผ่นดินบกของจังหวัดสงขลาและเกาะนางคำ ซึ่งเป็นเกาะในทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ถัดจากอำเภอกระแสสินธุ์
ของจังหวัดสงขลาลงไปถึงบริเวณบ้านปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
เมืองสันโฟชิ เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ที่บริเวณ “สิงหนคร” ในปัจจุบัน ในสมัยที่หลวงจีนอี้จิงพำนักอยู่ที่เมืองนี้
ได้บันทึกไว้ว่า ชาวบ้านเรียกเมือง “โพธิ” ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโพธิ และเป็นไปได้ว่า แม่น้ำโพธิ คือร่องน้ำระหว่าง
แผ่นดินบกของจังหวัดสงขลาและเกาะนางคำ ซึ่งเป็นเกาะในทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ถัดจากอำเภอกระแสสินธุ์
ของจังหวัดสงขลาลงไปถึงบริเวณบ้านปากรอ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
สอดคล้องกับบันทึกของม้าตวนลิน
ที่ได้บันทึกเรื่องราวของรัฐ “พันพัน”
ในสมัยราวพุทธศตวรรษ
ที่ ๑๑ ที่มีเขตติดต่อกับลังกาสุกะ (เมืองโฮลิง) ว่า “ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ ชนชาติ
เหล่านี้ไม่รู้จักก่อกำแพงสำหรับบ้านเรือน คงใช้แต่เพียงรั้วไม้เท่านั้น พระราชาประทับแบบครึ่งบรรทมอยู่เหนือ
เตียงทองรูปมังกร ขุนนางผู้ใหญ่ต้องคุกเข่า และในราชสำนักมีพราหมณ์ชาวอินเดียอยู่จำนวนมาก ลูกศรที่ใช้มี
ปลายแหลมทำด้วยหินแข็งมาก ใบหอกทำด้วยเหล็กแหลมมีคมทั้งสองด้าน ในรัฐพันพัน มีสำนักสงฆ์และภิกษุณี
๑๐ แห่ง ท่านเหล่านี้ศึกษาคัมภีร์ในพุทธศาสนา ฉันเนื้อและไม่ดื่มเหล้า”
ที่ ๑๑ ที่มีเขตติดต่อกับลังกาสุกะ (เมืองโฮลิง) ว่า “ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ำ ชนชาติ
เหล่านี้ไม่รู้จักก่อกำแพงสำหรับบ้านเรือน คงใช้แต่เพียงรั้วไม้เท่านั้น พระราชาประทับแบบครึ่งบรรทมอยู่เหนือ
เตียงทองรูปมังกร ขุนนางผู้ใหญ่ต้องคุกเข่า และในราชสำนักมีพราหมณ์ชาวอินเดียอยู่จำนวนมาก ลูกศรที่ใช้มี
ปลายแหลมทำด้วยหินแข็งมาก ใบหอกทำด้วยเหล็กแหลมมีคมทั้งสองด้าน ในรัฐพันพัน มีสำนักสงฆ์และภิกษุณี
๑๐ แห่ง ท่านเหล่านี้ศึกษาคัมภีร์ในพุทธศาสนา ฉันเนื้อและไม่ดื่มเหล้า”
รูปวาดราชทูตอชิตะ(Achito) จากเมืองลังกาสุกะ ( จีนเรียก
“หลั่งยะสิว” - Lang-ya-hsiu,
คือเมืองยะรังในปัตตานี)
ไปเจริญไมตรีกับจีนในปีพ.ศ. 1058 สมัยราชวงศ์เหลียง
ตามบันทึกการอ่านนาฬิกาแดดของหลวงจีนอี้จิง
ทำให้เราสามารถคำนวณค่าองศาของเมืองโฟชิและ
โฮลิงได้ โดยนำเอาความยาวเงาแดดที่ 2 ฟุต 4 นิ้ว และ 2 ฟุต 5 นิ้ว มาใช้คำนวณ ในทางกลับกัน ถ้าเราทราบ
ค่าองศาของเมืองต่าง ๆ เราก็สามารถคำนวณค่าเงาแดดของแต่ละเมืองนั้นได้ อี้จิงทำการวัดเงาแดดโดยบันทึก
วันที่วัดนี้ว่า “เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรไปทางทิศเหนือมากที่สุดหรือโคจรถึงเหนือสุด” ในตอนเที่ยงวันของ
ฤดูร้อน วันนี้ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ภาษาอังกฤษเรียก SUMMER SOLSTICE หรือ ครีษมายัน
ซึ่งดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรไปทางทิศเหนือมากที่สุด และเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดทาง
ซีกโลกเหนือตรงกับฤดูร้อน และเงาแดดจะทอดไปทางทิศใต้มากที่สุดนั่นเอง
โฮลิงได้ โดยนำเอาความยาวเงาแดดที่ 2 ฟุต 4 นิ้ว และ 2 ฟุต 5 นิ้ว มาใช้คำนวณ ในทางกลับกัน ถ้าเราทราบ
ค่าองศาของเมืองต่าง ๆ เราก็สามารถคำนวณค่าเงาแดดของแต่ละเมืองนั้นได้ อี้จิงทำการวัดเงาแดดโดยบันทึก
วันที่วัดนี้ว่า “เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรไปทางทิศเหนือมากที่สุดหรือโคจรถึงเหนือสุด” ในตอนเที่ยงวันของ
ฤดูร้อน วันนี้ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน ภาษาอังกฤษเรียก SUMMER SOLSTICE หรือ ครีษมายัน
ซึ่งดวงอาทิตย์จะอยู่สูงเลยเส้นศูนย์สูตรไปทางทิศเหนือมากที่สุด และเป็นวันที่กลางวันยาวนานที่สุดทาง
ซีกโลกเหนือตรงกับฤดูร้อน และเงาแดดจะทอดไปทางทิศใต้มากที่สุดนั่นเอง
ดังนั้นเมืองไชยาและนครศรีธรรมราช เงาแดดสั้น จึงมิใช่เมืองโฟชิและโฮลิง ส่วนที่ปาเล็มบังคำนวณ
ค่าได้4 ฟุต จึงมิใช่เมืองโฟชิเช่นเดียวกัน
ค่าได้4 ฟุต จึงมิใช่เมืองโฟชิเช่นเดียวกัน
จะสังเกตเห็นได้ว่าค่าเงาแดดของแต่ละเมือง
(คำนวณในวันที่ 21 มิถุนายน
ของปีพ.ศ.1230ที่
หลวงจีนอี้จิงมาพำนักในเมืองโฟชิ ) จะมีค่าไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และเส้น
ละติจูดของแต่ละเมือง
หลวงจีนอี้จิงมาพำนักในเมืองโฟชิ ) จะมีค่าไม่เท่ากัน แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และเส้น
ละติจูดของแต่ละเมือง
สรุปก็คือ โฟชิไม่ใช่ทั้งที่ไชยาและปาเล็มบัง
(เมืองท่าเก่า
) และโฮลิงก็ไม่ใช่นครศรีธรรมราช
(ตามพรลิงค์) เมืองโฟชิมีตำแหน่งอยู่ที่ตำบล ชะแล้ อำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา และโฮลิงก็ไม่ได้อยู่ในเกาะชวา แต่อยู่ที่อำเภอ
ยะรัง ในจังหวัดปัตตานี
(ตามพรลิงค์) เมืองโฟชิมีตำแหน่งอยู่ที่ตำบล ชะแล้ อำเภอ สิงหนคร จังหวัดสงขลา และโฮลิงก็ไม่ได้อยู่ในเกาะชวา แต่อยู่ที่อำเภอ
ยะรัง ในจังหวัดปัตตานี
ในปีพ.ศ.2461
ศาสตราจารย์
ยอร์ช เซเดส์
ผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึกสมัยโบราณของเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอเรื่องราวของอาณาจักรศรีวิชัย (อย่างเป็นทางการ) โดยวางตำแหน่งศูนย์กลางของ
ศรีวิชัยไว้ที่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา ทำให้การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำได้อย่างยาก
ลำบาก เนื่องจากเกิดมีข้อขัดแย้งและโต้เถียงกัน มีการนำเสนอศูนย์กลางของศรีวิชัยเสียใหม่ว่าอยู่ที่อำเภอไชยา
กลุ่มนี้มีนักประวัติศาสตร์ของไทยอาทิเช่น ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี และท่านอื่นๆ นับว่าเป็นการปฏิเสธสมมุติฐาน
(Hypothesis)ของเซเดส์ เนื่องจากที่สุมาตราขาดแคลนหลักฐานทางโบราณคดีต่างจากที่ไชยา ซึ่งเคยเป็นที่ตั้ง
ของนครชั้นราชธานีอันกว้างใหญ่ จึงไม่สมควรจะจัดให้เป็นเมืองขึ้นของปาเล็มบังที่สุมาตรา และนอกจากนั้น
ผลเสียอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีการนำเอาเมืองต่างๆบนคาบสมุทรมลายูไปวางไว้ที่เกาะสุมาตราและ
เกาะชวา (เช่นเอาเมืองโฮลิงไปไว้ในชวาตะวันออก) จนทำให้ตำแหน่งของสถานที่ การเดินทาง และการสงคราม
ระหว่างเมืองของบรรดาผู้คนในประวัติศาสตร์เกิดผิดทิศทางไปเสียหมด จนกระทั่งปัจจุบัน ผลการถกเถียงกันนั้น
ยังหาข้อสรุปยุติกันไม่ได้
เฉียงใต้ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอเรื่องราวของอาณาจักรศรีวิชัย (อย่างเป็นทางการ) โดยวางตำแหน่งศูนย์กลางของ
ศรีวิชัยไว้ที่เมืองปาเล็มบังในเกาะสุมาตรา ทำให้การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำได้อย่างยาก
ลำบาก เนื่องจากเกิดมีข้อขัดแย้งและโต้เถียงกัน มีการนำเสนอศูนย์กลางของศรีวิชัยเสียใหม่ว่าอยู่ที่อำเภอไชยา
กลุ่มนี้มีนักประวัติศาสตร์ของไทยอาทิเช่น ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี และท่านอื่นๆ นับว่าเป็นการปฏิเสธสมมุติฐาน
(Hypothesis)ของเซเดส์ เนื่องจากที่สุมาตราขาดแคลนหลักฐานทางโบราณคดีต่างจากที่ไชยา ซึ่งเคยเป็นที่ตั้ง
ของนครชั้นราชธานีอันกว้างใหญ่ จึงไม่สมควรจะจัดให้เป็นเมืองขึ้นของปาเล็มบังที่สุมาตรา และนอกจากนั้น
ผลเสียอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ มีการนำเอาเมืองต่างๆบนคาบสมุทรมลายูไปวางไว้ที่เกาะสุมาตราและ
เกาะชวา (เช่นเอาเมืองโฮลิงไปไว้ในชวาตะวันออก) จนทำให้ตำแหน่งของสถานที่ การเดินทาง และการสงคราม
ระหว่างเมืองของบรรดาผู้คนในประวัติศาสตร์เกิดผิดทิศทางไปเสียหมด จนกระทั่งปัจจุบัน ผลการถกเถียงกันนั้น
ยังหาข้อสรุปยุติกันไม่ได้
และเนื่องจากปัญหาเรื่องของศรีวิชัยไม่อาจอธิบายในกรอบของประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพียง
อย่างเดียวได้ การคำนวณที่แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่ตั้งอันแท้จริงของนครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย
บริเวณเส้นรุ้ง 7 องศา17 ลิปดา เหนือ ที่อยู่ในเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จึงควรเป็นคำตอบของบรรดา
คำถามหรือข้อถกเถียงทั้งหลายที่เคยมีการวางตำแหน่งของศรีวิชัยไว้อย่างผิดที่ผิดทาง และในปัจจุบันประเทศไทย
ยังขาดการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจริงจังในลักษณะที่มีการดำเนินการอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
โดยเฉพาะในเขตอำเภอสิงหนคร บริเวณแผ่นดินบกที่ติดกับร่องน้ำของทะเลสาบสงขลา ทั้งๆที่บน
คาบสมุทรสทิงพระแห่งนี้มีการค้นพบโบราณวัตถุต่างๆมากมาย โดยชาวบ้านในท้องถิ่นที่ทำการเกษตรกรรม
และขุดพบขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุโบราณเหล่านี้ถูกรวบรวมโดยพระภิกษุรูปหนึ่ง
(คือพระศีลสังวร) ซึ่งภายหลังในปีพ.ศ.2483 ได้มีการจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ภัทรศีล ณ วัดมัชฌิมาวาส
จังหวัดสงขลา เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา พื้นที่บริเวณแผ่นดินบกในเขตอำเภอสิงหนครนี้ยังต้องการโครงการ
ขุดสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบจากนักวิชาการ เพื่อให้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของภาพในอดีต
ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของดินแดนที่เคยเป็นแหล่งชุมชนบนเส้นทางเดินเรือของโลกอารยธรรม 2 ฟาก
ระหว่างตะวันตกคืออินเดีย อาหรับ เปอร์เชีย กับฝ่ายตะวันออกคือจีนในอดีต ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา
และจะได้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นกันเสียทีว่าประวัติศาสตร์และอารยธรรมของอาณาจักรศรีวิชัยนั้นมีต้นกำเนิด
อยู่ในดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทยของเรานี่เอง
อย่างเดียวได้ การคำนวณที่แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งที่ตั้งอันแท้จริงของนครหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย
บริเวณเส้นรุ้ง 7 องศา17 ลิปดา เหนือ ที่อยู่ในเขตอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จึงควรเป็นคำตอบของบรรดา
คำถามหรือข้อถกเถียงทั้งหลายที่เคยมีการวางตำแหน่งของศรีวิชัยไว้อย่างผิดที่ผิดทาง และในปัจจุบันประเทศไทย
ยังขาดการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดีอย่างจริงจังในลักษณะที่มีการดำเนินการอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
โดยเฉพาะในเขตอำเภอสิงหนคร บริเวณแผ่นดินบกที่ติดกับร่องน้ำของทะเลสาบสงขลา ทั้งๆที่บน
คาบสมุทรสทิงพระแห่งนี้มีการค้นพบโบราณวัตถุต่างๆมากมาย โดยชาวบ้านในท้องถิ่นที่ทำการเกษตรกรรม
และขุดพบขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 วัตถุโบราณเหล่านี้ถูกรวบรวมโดยพระภิกษุรูปหนึ่ง
(คือพระศีลสังวร) ซึ่งภายหลังในปีพ.ศ.2483 ได้มีการจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ภัทรศีล ณ วัดมัชฌิมาวาส
จังหวัดสงขลา เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา พื้นที่บริเวณแผ่นดินบกในเขตอำเภอสิงหนครนี้ยังต้องการโครงการ
ขุดสำรวจทางโบราณคดีอย่างเป็นระบบจากนักวิชาการ เพื่อให้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของภาพในอดีต
ที่แสดงถึงความรุ่งเรืองของดินแดนที่เคยเป็นแหล่งชุมชนบนเส้นทางเดินเรือของโลกอารยธรรม 2 ฟาก
ระหว่างตะวันตกคืออินเดีย อาหรับ เปอร์เชีย กับฝ่ายตะวันออกคือจีนในอดีต ราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมา
และจะได้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นกันเสียทีว่าประวัติศาสตร์และอารยธรรมของอาณาจักรศรีวิชัยนั้นมีต้นกำเนิด
อยู่ในดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทยของเรานี่เอง
หนังสืออ้างอิง
ครองชัย หัตถา , รศ. ดร. ปัตตานี การค้า
การเมืองและการปกครองในอดีต
โครงการปัตตานีศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี๒๕๔๑
จันทร์จิรายุ รัชนี, หม่อมเจ้า “ หลักฐานที่ตรวจสอบได้เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย” รายงานการสัมมนา
ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชครั้งที่
๒ : ประวัติศาสตร์และสังคมของนครศรีธรรมราช.
กรุงเทพฯ:
กรุงสยามการพิมพ์, ๒๕๒๖
………..”Sri Vijaya
in the 7th Century A.D.” รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์ – โบราณคดี
ศรีวิชัย. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ, ๒๕๒๕
…………”เรื่องของอาณาจักรศรีวิชัย” รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราช.
ครั้งที่ ๓ ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและวรรณกรรม
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. บรรณาธิการ.
ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สุวรรณภูมิ- อุษาคเนย์ภาค
พิศดาร.เล่ม๑ ดี.จี.อี.ฮอลล์ . เขียน. ,มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและมูลนิธิโครงการตำรา
สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. กรุงเทพฯ:๒๕๔๙
เซเดส์ , ยอร์ช . ประชุมศิลาจารึกภาค ๒ : จารึกทวารวดี ศรีวิชัย
ละโว้ . กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร,๒๕๐๔
ธรรมทาส พานิช. ประวัติศาสตร์ไชยา
นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: เอ.พี. กราฟิกดีไซน์, ๒๕๔๑
………..พนม ทวาราวดี ศรีวิชัย. นครหลวงกรุงเทพธนบุรี:
สื่อการค้า, ๒๕๑๔
ธิดา สาระยา “ พัฒนาการของรัฐบนคาบสมุทรไทย เน้นตามพรลิงค์ (คริสต์ศตวรรษที่๖-๑๓). รายงาน
การสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชครั้งที่
๓ : ประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชจากภาษาและ
วรรณกรรม, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, ๑๔-๑๘ สิงหาคม
๒๕๒๖
วรรณกรรม, สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, ๑๔-๑๘ สิงหาคม
๒๕๒๖
นงคราญ ศรีชาย. “นครศรีธรรมราชก่อนพุทธศตวรรษที่
๑๙ “ประวัติศาสตร์โบราณคดีนครศรีธรรมราช, สำนักงาน
โบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่๑๑ (นครศรีธรรมราช) สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติกรมศิลปากร,๒๕๔๓
แห่งชาติกรมศิลปากร,๒๕๔๓
นงคราญ ศรีชาย. ตามรอยศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : บริษัทมติชนจำกัด (มหาชน),๒๕๔๔
บังอร ปิยะพันธุ์. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๗
ปรีชา นุ่นสุข.
หลักฐานทางโบราณคดีของประเทศไทยที่เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัย.
ชุดนครศรีธรรมราชคดีศึกษา
อันดับ๒ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เนื่องในการสัมมนาประวัติศาสตร์
นครศรีธรรมราชครั้งที่ ๒. วันที่ ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๒๕
อันดับ๒ ศูนย์วัฒนธรรมภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดพิมพ์เนื่องในการสัมมนาประวัติศาสตร์
นครศรีธรรมราชครั้งที่ ๒. วันที่ ๒๕-๒๗ มกราคม ๒๕๒๕
เพ็ญศรี กาญจโนมัย.
ประวัติศาสตร์ทั่วไปของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, กรุงเทพฯ : เค.ยู. บุ๊คเซ็นเตอร์,
๒๕๔๓
ไพโรจน์ โพธิไทร. ภูมิหลังของเอเชียอาคเนย์.
นครหลวงกรุงเทพธนบุรี: บรรณกิจเทรดดิ้ง, ๒๕๑๕
ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. สงขลา. สงขลา: สยามศิลปะการพิมพ์, ๒๕๔๘
วิสันธนี โพธิสุนทร. “ศรีวิชัย” พัฒนาการอารยธรรมไทย. กรมศิลปากรจัดพิมพ์เนื่องในมหามงคล
เฉลิมพระเกียรติ๑๐๐ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
เฉลิมพระเกียรติ๑๐๐ปี วันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๖
ศรีศักร วัลลิโภดม. “พัฒนาการของบ้านเมืองในภาคใต้ของประเทศไทยในสมัยศรีวิชัย.
สีหวัฒน์
แน่นหนา(บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, ๒๕๒๕
แน่นหนา(บรรณาธิการ) กรุงเทพฯ : พิฆเณศ, ๒๕๒๕
ศิลปากร , กรม . รายงานการสัมมนาเรื่องประวัติศาสตร์และโบราณคดีศรีวิชัย . กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร , ณ
โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ๒๕๒๕
โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ๒๕๒๕
สุจิตต์ วงศ์เทศ. ศรีวิชัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๓๑
สุเนตร ชุตินทรานนท์. “ การควบคุมทางการเมืองของผู้นำศรีวิชัย”
รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์
นครศรีธรรมราชครั้งที่ ๒. วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ, ๒๕๒๖
นครศรีธรรมราชครั้งที่ ๒. วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชและสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ, ๒๕๒๖
สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า “ อาณาจักรศรีวิชัย” รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์นครศรีธรรมราชครั้งที่
๒,
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมของนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์,๒๕๒๖
อนุมานราชธน, พระยา. แหลมอินโดจีนสมัยโบราณ. เสถียรโกเศศ (นามแฝง)
กรุงเทพฯ : เจริญรัตน์การพิมพ์,
๒๕๑๕
๒๕๑๕
Hall, D.G.E. A History of South-East Asia. 4th Edition. New York : St. Martin’s press,
1981.
Osborne,
Milton. Southeast Asia : An Introductory
History. Ninth Edition Allen & Urwin,
Australia, 2004.
Wheatley,
Paul . The Golden Khersonese . Kuala Lumper : University of Malaya press,
1961.
1961.
Tarling,
Nicholas . Editor. The Cambridge
History of Southeast
Asia : Volume One,
Part One From early time to c.1500. Cambridge University press, UK.,1999
Part One From early time to c.1500. Cambridge University press, UK.,1999
ประจิต ประเสริฐประศาสน์ นักวิชาการอิสระ - ผู้ค้นคว้า,กรกฎาคม ๒๕๕๘.
Facebook :
Srivijaya Yava
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร
“ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือน กรกฎาคม
พ.ศ. ๒๕๕๘.
See also (google)
*สุวรรณภูมิคือเมืองเคดาห์โบราณ
*Srivijaya Empire, the center was
in Songkhla,Thailand
*จินหลินหรือกิมหลินคือเมืองเวียงสระโบราณ
บันทึกสุไลมานในปีพ.ศ.1394 เกี่ยวกับแม่น้ำษีลาจญ์
และการโยนแท่งทองคำลงสระน้ำของ
มหาราชาแห่งซาบัค (ศรีวิชัย) มีว่า
“ราชาแห่งซาบาจญ์ (ซาบัค) จะเรียกว่า
”มหาราชา” เช่นเดียวกันกับราชวงศ์ก่อนๆ ณ เมือง
ซาบาจญ์มีประเพณีที่สำคัญอยู่อย่างหนึ่ง
เนื่องจากพระราชวังของพระราชาหันหน้าไปสู่แม่น้ำ
ษีลาจญ์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเล
แม่น้ำนี้เวลาน้ำขึ้นน้ำทะเลจะไหลเข้ามาน้ำจะเค็ม เวลาน้ำลงน้ำจะกร่อย
จากษีลาจญ์มีแหลมยื่นเป็นสันดอนออกไป(แหลมที่ว่านี้ก็คือเกาะนางคำ-ผู้เขียน) เหมือนไทกริสที่อยู่
ก่อนถึงแบกแดดและบาสรา (บริเวณสันดอนปากแม่น้ำที่อยู่ก่อนออกสู่อ่าวโอมาน-ผู้เขียน) แม่น้ำ
ษีลาจญ์ทำให้เกิดน้ำในสระเล็กๆในพระราชวังของพระราชา ทุกเช้าผู้เข้าเฝ้าจะเตรียมแท่งทองคำที่มี
ลักษณะสี่เหลี่ยมแบบอิฐ ซึ่งมีน้ำหนักในมาตราที่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจ (มาตราท้องถิ่น) จากนั้นผู้เข้าเฝ้า
ก็จะโยนแท่งทองคำลงไปในสระนั้น เวลาน้ำขึ้นจะท่วมแท่งทอง และจะไม่รู้ว่ามีทองอยู่ในสระนั้น
แต่เวลาน้ำลงทองคำจะต้องประกายแสงอาทิตย์ ทำให้รู้ว่ามีทองอยู่ ณ ที่นั้น พระราชาเมื่อเสด็จออก
ขุนนางแล้ว จะมาประทับที่ห้องที่มีสระนั้น แล้วจะผินพระพักตร์มองดูน้ำที่มีแท่งทองคำอยู่ตลอด
เวลาที่มีการโยนแท่งทองลงไปในสระน้ำ
ก่อนถึงแบกแดดและบาสรา (บริเวณสันดอนปากแม่น้ำที่อยู่ก่อนออกสู่อ่าวโอมาน-ผู้เขียน) แม่น้ำ
ษีลาจญ์ทำให้เกิดน้ำในสระเล็กๆในพระราชวังของพระราชา ทุกเช้าผู้เข้าเฝ้าจะเตรียมแท่งทองคำที่มี
ลักษณะสี่เหลี่ยมแบบอิฐ ซึ่งมีน้ำหนักในมาตราที่ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจ (มาตราท้องถิ่น) จากนั้นผู้เข้าเฝ้า
ก็จะโยนแท่งทองคำลงไปในสระนั้น เวลาน้ำขึ้นจะท่วมแท่งทอง และจะไม่รู้ว่ามีทองอยู่ในสระนั้น
แต่เวลาน้ำลงทองคำจะต้องประกายแสงอาทิตย์ ทำให้รู้ว่ามีทองอยู่ ณ ที่นั้น พระราชาเมื่อเสด็จออก
ขุนนางแล้ว จะมาประทับที่ห้องที่มีสระนั้น แล้วจะผินพระพักตร์มองดูน้ำที่มีแท่งทองคำอยู่ตลอด
เวลาที่มีการโยนแท่งทองลงไปในสระน้ำ
การโยนอิฐทองคำลงไปในสระน้ำเป็นประเพณีที่มหาราชาแห่งซาบาจญ์ทุกพระองค์ทรง
ประพฤติสืบมา
ถ้ามหาราชาพระองค์ใดสิ้นพระชนม์ลง ก็เก็บรวบรวมทองคำเหล่านั้นไปหลอม
แล้วแจกจ่ายให้แก่พระญาติวงศ์และข้าราชการ เหลือนอกนั้นประทานแก่คนยากจน”
แล้วแจกจ่ายให้แก่พระญาติวงศ์และข้าราชการ เหลือนอกนั้นประทานแก่คนยากจน”
-ข้อมูลจากหนังสือ”ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป”, อมรา ศรีสุชาติ ในหน้า 464
กรุงศรีวิชัยนี้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเชียะโท้ หรือประเทศดินแดง ซึ่งราชทูตชางจุน
(Chang-jun) แห่งราชสำนักสุยได้นำเรือพระราชสาส์นของพระจักรพรรดิจีน
เข้ามาเจริญไมตรีกับกรุง
เชียะโท้ในระหว่างปีพ.ศ.1150-1151 แล้วประเทศเชียะโท้นี้มีต้นกำเนิดมาอย่างไร ในตำราบางเล่ม
กล่าวว่าเชียะโท้เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรฟูนัน
แต่ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติของเชียะโท้เท่าที่
ได้ศึกษามาตามบันทึกของจีนมีว่า กรุงเชียะโท้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยของอาณาจักรฟูนัน (ก่อนปี
พ.ศ.1093ซึ่งอาณาจักรฟูนันต้องพ่ายแพ้แก่พระเจ้าจิตรเสนกษัตริย์แห่งเจนละบก ทำให้สิ้นสุดยุคของ
อาณาจักรฟูนัน- ผู้เขียน) โดยประชาชนชาวฟูนันที่เป็นชนชาติมอญ-เขมรนี้ จีนเรียกว่าพวกกิดโหมว
(Kit-mow)หรือพวกเขมร ได้ล่องเรือจากชายฝั่งทะเลทางใต้ของฟูนันมาสร้างกรุงเชียะโท้ ศตวรรษ
ต่อมาชาวฟูนันเหล่านั้นก็กลายเป็นพลเมืองเชียะโท้ จึงนับว่าชาวเชียะโท้ส่วนหนึ่งสืบเชื้อสาย
มาจากฟูนัน
ได้ศึกษามาตามบันทึกของจีนมีว่า กรุงเชียะโท้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยของอาณาจักรฟูนัน (ก่อนปี
พ.ศ.1093ซึ่งอาณาจักรฟูนันต้องพ่ายแพ้แก่พระเจ้าจิตรเสนกษัตริย์แห่งเจนละบก ทำให้สิ้นสุดยุคของ
อาณาจักรฟูนัน- ผู้เขียน) โดยประชาชนชาวฟูนันที่เป็นชนชาติมอญ-เขมรนี้ จีนเรียกว่าพวกกิดโหมว
(Kit-mow)หรือพวกเขมร ได้ล่องเรือจากชายฝั่งทะเลทางใต้ของฟูนันมาสร้างกรุงเชียะโท้ ศตวรรษ
ต่อมาชาวฟูนันเหล่านั้นก็กลายเป็นพลเมืองเชียะโท้ จึงนับว่าชาวเชียะโท้ส่วนหนึ่งสืบเชื้อสาย
มาจากฟูนัน
เชียะโท้ตั้งอยู่ในทะเลใต้
ใช้เวลาเดินทางจากจีนมาในระยะเวลาราว 100 วัน ภูมิประเทศ
ส่วนมากมีพื้นดินสีแดง จึงได้ชื่อว่าเชียะโท้ ซึ่งหมายถึง"ประเทศดินแดง" (The Red Earth Land)
ตามบันทึกของราชทูตชางจุนนั้น ทางตะวันออกของเชียะโท้มีพรมแดนจดโปโลล้า (Po-lo-la)
ทางตะวันตกจดโปโลโส (Po-lo-so) และทางใต้จดโฮโลตัน(Ho-lo-tan) ทิศเหนือจดทะเลหลวง
ประเทศเชียะโท้มีพื้นที่กว้างขวางหลายพันลี้
ส่วนมากมีพื้นดินสีแดง จึงได้ชื่อว่าเชียะโท้ ซึ่งหมายถึง"ประเทศดินแดง" (The Red Earth Land)
ตามบันทึกของราชทูตชางจุนนั้น ทางตะวันออกของเชียะโท้มีพรมแดนจดโปโลล้า (Po-lo-la)
ทางตะวันตกจดโปโลโส (Po-lo-so) และทางใต้จดโฮโลตัน(Ho-lo-tan) ทิศเหนือจดทะเลหลวง
ประเทศเชียะโท้มีพื้นที่กว้างขวางหลายพันลี้
พระวิษณุศิลา(พระนารายณ์)
ศิลปะภาคใต้ศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่
12
พบที่หลักเมือง จ.สงขลา
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
ส่วนองค์ของพระวิษณุศิลา
ศิลปะภาคใต้ศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่
12
พบที่วัดขุนช้าง ต.พังยาง อ.ระโนด จ.สงขลา
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
พระศิวะมหาเทพสำริด
อายุพุทธศตวรรษที่ 14-15
พบที่บ้านหนองหอย ต.วัดขนุน อ.สิงหนคร จ.สงขลา
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
ศิวลึงค์และฐานศิวลึงค์ศิลา
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-13
พบที่บ้านพังเภา อ.สทิงพระ จ.สงขลา
จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
ของจีนชักลากไปสู่นครเชียะโท้
ทางฝั่งทะเลอ่าวไทย
ภาพที่เห็นนี้คือทะเลน้อยซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดเล็ก
ที่อยู่ทางเหนือของจังหวัดพัทลุง
ที่เห็นเรือหางยาวแล่นอยู่คือร่องน้ำที่ลงไปสู่ทะเลหลวง คือทะเลสาบลูกใหญ่ตรงกลาง
ทั้งหมดนี้คือเส้นทางลากเรือพระราชสาส์น โดยราชทูตชางจุนของพระจักรพรรดิจีนสุยเอียงตี้
นำมายังกรุงเชียะโท้ (ประเทศดินแดง)
ในระหว่างปีพ.ศ.1150-1151 อ.มานิต
วัลลิโภดมได้มาสำรวจและสรุปว่าเรือพระราชสาส์นถูกชักลากมาทางแม่น้ำปากพนัง
เข้าสู่คลองชะอวดลงทะเลน้อยมาสู่ทะเลหลวง เป็นเวลา 1 เดือนจึงเข้าสู่พระนครหลวง บันทึกของราชทูตชางจุนระบุว่าพระราชวังของเชียะโท้มีชื่อว่า
“เมืองสิงห์” และจากการค้นคว้าพบว่าตั้งอยู่บนแผ่นดินบกในเขต
ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ฝั่งตรงข้ามเป็นเกาะนางคำ
ซึ่งเป็นเกาะในทะเลสาบ จึงทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเป็นฝั่งแม่น้ำ ซึ่งภิกษุอี้จิงเรียกว่าแม่น้ำโพธิ สุไลมานชาวอาหรับในปีพ.ศ.1394เรียกว่าแม่น้ำษีลาจญ์ ส่วนในคัมภีร์วายุปุราณะของอินเดียประพันธ์ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่12 เรียกชื่อเมืองเชียะโท้นี้ว่า “สังขทวีป” และเรียกชื่อแม่น้ำอัน
ศักดิ์สิทธิ์ว่า “สังขนาคา” กรุงเชียะโท้นี้ต่อมาในปีพ.ศ.1213 ก็กลายเป็นกรุงศรีวิชัยเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย หรือเมืองหลวงของประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ซึ่งเป็นเกาะในทะเลสาบ จึงทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเป็นฝั่งแม่น้ำ ซึ่งภิกษุอี้จิงเรียกว่าแม่น้ำโพธิ สุไลมานชาวอาหรับในปีพ.ศ.1394เรียกว่าแม่น้ำษีลาจญ์ ส่วนในคัมภีร์วายุปุราณะของอินเดียประพันธ์ขึ้นราวพุทธศตวรรษที่12 เรียกชื่อเมืองเชียะโท้นี้ว่า “สังขทวีป” และเรียกชื่อแม่น้ำอัน
ศักดิ์สิทธิ์ว่า “สังขนาคา” กรุงเชียะโท้นี้ต่อมาในปีพ.ศ.1213 ก็กลายเป็นกรุงศรีวิชัยเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย หรือเมืองหลวงของประเทศทั้งสิบแห่งทะเลใต้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-18
ทะเลสาบสงขลาคือดินแดน "หวีโหย่ว" (Yu-yu) หรือดินแดนที่เต็มไปด้วยโคลน
ตามบันทึกของนักเดินทางชาวจีนในปลายพุทธศตวรรษที่ 8 ที่เดินเรือจากเมืองชิวชี (เคดาห์)
มาตามลำแม่น้ำคังคา (แม่น้ำปลิศ) และคลองอู่ตะเภา มาลงที่อ.รัตภูมิ บริเวณทะเลสาบสงขลา (ตามรูป) จากนั้นผ่านแหลมใหญ่คือบริเวณตัวจังหวัดสงขลาออกไปสู่ทะเลอ่าวไทยซึ่งจีนเรียกว่าทะเลชางไฮ
- ข้อมูลจากบันทึกจดหมายเหตุจีน Nan-chu-I-wu-Chih บันทึกมีว่า “รัฐชิวชี อยู่ห่างจาก หวีโหย่ว(Yu-yu) 800 ลี้
มีปากน้ำจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปสู่ตะวันออกเฉียงเหนือ และมีแหลมใหญ่ยื่นสู่อ่าวไทย(Chang-hai) ปากอ่าวนี้น้ำตื้นและมีแร่เหล็ก
(บริเวณท่าเรือเฟอรี่)” (จากหนังสือ “อาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยา”, หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี : 19)
ในคัมภีร์วายุปุราณะของอินเดียอายุราวพุทธศตวรรษที่12 เรียกชื่อภูมิประเทศบริเวณนี้ว่า “สังขคีรี”
อยู่ใน “สังขทวีป” ซึ่งสังขทวีปก็คือแคว้นเดียวกันกับ“เชียะโท้”ตามบันทึกจีนนั่นเอง
วายุปุราณะยังระบุอีกว่าบริเวณแนวภูเขาที่เรียกว่าสังขคีรีนี้
มีเหมืองแร่อยู่จำนวนหนึ่ง ในแผนที่ภูมิศาสตร์เราพบว่าบริเวณทางทิศใต้ของแผ่นดินบกในเขตจังหวัดสงขลานั้น (ตามรูป)
มีแนวภูเขาที่บ้านเขาแดงและบ้านหัวเขาที่อยู่ใกล้กันกับท่าเรือเฟอรี่ของจังหวัดสงขลาซึ่งบริเวณนี้คือปากอ่าวที่มีน้ำตื้นและมีแร่เหล็กตามบันทึกจีน
และจะสัมพันธ์กันกับการมีแหล่งแร่ตามที่ระบุไว้ในคัมภีร์วายุปุราณะ
รูปภาพเพิ่มเติมสำหรับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา
เป็นสถานที่เก็บโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากบริเวณแผ่นดินบกของจังหวัดสงขลา ตามประวัตินั้นพระครูศีลสังวร(ช่วง)
ในระหว่างที่ท่านเดินธุดงค์อยู่ในบริเวณแผ่นดินบก ชาวบ้านที่ทำเกษตรกรรมและได้ขุดพบวัตถุโบราณจึงนำมามอบให้ท่านเก็บรักษาไว้
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2483 ท่านได้รวบรวมวัตถุโบราณเหล่านี้มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภัทรศีล ที่วัด
มัชฌิมาวาส จ.สงขลา ต่อมาภายหลังมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาที่บริเวณเมืองเก่า สิ่งของเหล่านี้คือโบราณวัตถุของอาณาจักรศรีวิชัย ที่ได้หลงเหลืออยู่มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ โบราณวัตถุที่สำคัญอาทิเช่น พระวิษณุศิลาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 (ร่วมสมัยกับนครเชียะโท้),
พระพิฆเณศ, และศิวลึงค์..ฯลฯ เป็นต้น
จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2483 ท่านได้รวบรวมวัตถุโบราณเหล่านี้มาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภัทรศีล ที่วัด
มัชฌิมาวาส จ.สงขลา ต่อมาภายหลังมาจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลาที่บริเวณเมืองเก่า สิ่งของเหล่านี้คือโบราณวัตถุของอาณาจักรศรีวิชัย ที่ได้หลงเหลืออยู่มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ โบราณวัตถุที่สำคัญอาทิเช่น พระวิษณุศิลาอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 (ร่วมสมัยกับนครเชียะโท้),
พระพิฆเณศ, และศิวลึงค์..ฯลฯ เป็นต้น
The tilt of the rotation axis of the
earth (ɛ)
จากเอกสารเรื่องความเอียงของแกนหมุนของโลก/นิพนธ์
ทรายเพชร บรรยาย
ในการประชุมราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2544
Map of Pattani Coastal Area
แสดงตำแหน่งของกรุงศรีวิชัย (Fo-shih)ที่ ต.ชะแล้
อ.สิงหนคร
จ.สงขลา ส่วนHo-ling คือ
เมืองยะรังใน จ.ปัตตานี
แผนที่ Gulf of Thailand - แสดงเขตจังหวัดปัตตานี
เป็นที่ตั้งของเมืองยะรัง
(Ho-ling) และเขตจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของกรุงศรีวิชัย
(Fo-shih)
4 ปีผ่านไป เพิ่งเห็นบทความนี้ เพื่อความก้าวหน้าในการค้นคว้า ขอแสดงความเห็นว่าน่าจะยังมีความคลาดเคลื่อนหลายประการในการคำนวณหรือการทดลองเรื่องเงาของนาฬิกาแดดในวันและปีตามอย่างที่หลวงจีนอี้จิงกล่าวไว้เมื่อกว่าพันปีก่อน มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย นักวิชาการต่างชาติก็ทำกันน้อยมาก เท่าที่ทำกันก็ได้ผลต่างๆกันไป ของคุณประจิต อย่างน้อยมีหนึ่งเรื่องที่น่าจะคลาดเคลื่อน คือ 1 เชี้ยะ ในสมัยของอี้จิงนั้นไม่ได้เท่ากับ 1 ฟุตพอดีอย่างที่คุณใช้คำนวณ (และถ้าเชื่อตามwikipedia ก็อาจจะประมาณ 23 ซ.ม.) หน่วยของหุน(ที่ย่อยลงมา)หรือชุนที่คุณว่า ก็อาจไม่ได้เท่ากับ นิ้ว ในสมัยนี้ (แต่ 1 หุนน่าจะเป็น หนึ่งส่วนสิบหกของเชี้ยะ) - เรื่อง "เงาที่ทอดลงไปทางใต้" สำหรับเมืองที่อยู่เหนือเส่้นศูนย์สูตร ผมก็ยังไม่แน่ใจ (บางทีท่านจันทร์ก็อาจจะพลาดในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน) ควรขอให้นักดาราศาสตร์ชั้นเซียนของโลกหลายๆคนร่วมกันตรวจสอบเรื่องนี้นะครับ แล้วทดลองจริงให้เป็นเรื่องเป็นราว และจัดสัมมนากันด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตาม ชื่นชมที่คุณจริงจังกับเรื่องนี้ (ทั่วโลกมีไม่เกินสิบคน แต่ได้ผลอย่างไรแล้ว เชื่อว่ามีคนแอบสนใจเป็นล้านๆ เพราะศรีวิชัยเป็นประวัติศาสตร์ระดับโลก)
ตอบลบขออภัยจำผิดไป 1 เชี้ยะสมัยอี้จิงอาจเท่ากับ 24 - 29 ซ.ม.
ตอบลบตอบ : เกี่ยวเนื่องกับบทความ ศรีวิชัยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ลงในวารสาร “ศิลปวัฒนธรรม” กค. ปี 2558 ซึ่งคุน Unknown ตอบกระทู้มาหลังจากผมลงบทความใน google เมื่อ 23 มค. 60 คุณ unknown สงสัยเรื่อง 1 เชียะ (ฟุต) ตามมาตราจีนสมัยอี้จิง อาจ = 23 ซม. ข้อนี้ไม่มีผลต่อการคำนวณ เพราะ เชียะ = ฟุต และ ชุน = นิ้ว เวลาหาค่ามุม เป็นอัตราส่วน คือ arc tan ( 2 ฟุต 4 นิ้ว หาร 8 ฟุต) และ ได้ค่ามุมในสามเหลี่ยม 16.26 องศา ดังนั้นความยาวของ เชียะ คือ 23 ซม. ก็ไม่มีผลต่อการคำนวณ เพราะเราใช้เป็นอัตราส่วน 1 ใน 12 มาหารกัน
ตอบลบและเอาค่า แกนเอียงของโลกคือ tropic of canser คือ 23.54 เป็นตัวตั้ง ลบ 16.26 จะได้ 7.28 คือ 7 องศา 17 ลิปดา ค่าที่ได้เป็น เส้น ละติจูด ของเมือง โฟชิ (ศรีวิชัย) ตกอยู่ที่ ต. ชะแล้ อ. สิงหนคร ลงขลา พอดี
(ดู กราฟฟิค รูปที่ 1 และการคำนวณ ที่แสดงในรูปที่ 2 ) เมืองโฮลิง คือเมืองยะรังในปัตตานี มีซากเมืองปรากฏอยู่จริง โฟชิ ไป โฮลิง แล่นใบไปทางตะวันออก 4 วัน ดังนั้นซากเมืองโฟชิ อยู่ ที่สิงหนครแน่นอน แต่จมลงดินหมด มองไม่เห็นซาก เคยอธิบายให้ อ. Thanongak Hanwong ทราบแล้วว่าดินอ่อน เป็น lagoon ทำให้จมลงหมด
ในประวัติศาสตร์โลก มีศาตราจารย์ 4 ท่านเคยมาคำนวณให้ดู ( เช่น ศ. เจ แอล โมนส์ ชาวฮอลันดา ) ทัง 4 คน คำนวณ โดยใช้ สเกล 1 ใน 10 ตามสเกลเก่าแก่ของจีน (สมัยคังไถ พุทธศตวรรษที่ 8 ) และ ค่าเมืองสลับที่กันเพราะ พงศาวดารถัง คือ สินถังชุ คัดลอกค่าของ สองเมืองนี้สลับกัน ผลลัพธ์ เลยผิด เมืองโฟชิ หรือ ศรีวิชัย ไปตกที่ รัฐ กลันตัน ในมาเลเซีย ซึ่งไม่ใช่ และเมืองศรีวิชัย ไม่ใช่กลันตัน
ผมไปทำการคำนวณให้ดูหลายๆที่ เข่นที่แรกคือ สำนักโบราณคดี 12 นครศรีธรรมราช ตอนปี 57 คุณ สารัท ชลอสันติสกุล คือคุณ นิค มือขุดสำรวจ ของกรมศิลป์ฯ อยู่ที่ จ. นครฯ ให้ลูกน้อง สองคนมาดูการติวกันหน้าห้องทำงาน น้องวีระศักดิ์ พงศ์ชนะ ร้อง อ๋อ เลย เข้าใจ แล้วครับ คือ ละติจูด ของกรุงศรีวิชัย คือ 7 องศา 17 ลิปดา อยู่ที่ ต. ชะแล้ อ. สิงหนคร จ. สงขลา จริง คำนวณไม่ยาก
โบราณวัตถุ ของกรุงศรีวิชัย ขุดมาจากแผ่นดินบก จ.สงขลา มีนับร้อยชิ้น (ดูรูป พระวิษณุ เป็นตัวอย่าง) ตามรายงานของ อ.ผาสุข อินทราวุธ (ผู้ล่วงลับ) เฉพาะ เทวรูป และ พระพุทธรูป มีมากกว่า 25 องค์ เก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สงขลา ทั้งหมด ไปดูได้ (น่าจะมีการจัด กิจกรรม ตามรอยศรีวิชัย โดยไปดูกันที่ พิพิธภัณฑ์สงขลา )